ฉบับที่แล้ว เกริ่นนำถึงปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การพัฒนาพนักงานไม่ได้ผลอย่างที่คาดหวังไว้ นั่นคือ การขาดความรู้ ความเข้าใจเรื่องคนอย่างแท้จริง
ครั้งนี้ ผมจึงขอยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นว่า ทำไมจึงเป็นเรื่องยากมากที่จะทำให้เกิดการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน ถ้าเราไม่เข้าใจคนอย่างลึกซึ้งถึงที่มาของพฤติกรรม
ในการทำงาน คุณน่าจะเคยเห็นคนประเภทมักเชื่อว่ามีหลักการที่ถูกที่สุดที่ต้องยึดถือ หรือมีกรอบการปฏิบัติงานที่เข้มงวดมาบ้าง
หรือ อาจเคยเจอคนอีกประเภทที่เชื่ออย่างสุดใจเลยว่า ความประมาทเป็นหนทางสู่ความตาย และคิดว่าตัวเรามีอันตรายอยู่รายรอบ จึงต้องระวัง ไม่ทำอะไรที่เสี่ยงทั้งนั้น
คนทั้งสองแบบนี้ หากไม่รู้ตัวเอง และ ไม่ปรับเปลี่ยนความคิดความเชื่อดังกล่าว ถึงส่งให้เขาเข้าอบรมเรื่องการคิดนอกกรอบ หรือการคิดสร้างสรรค์ สักกี่หน ก็ยากที่เขาจะเปลี่ยนได้ เพราะพื้นฐานความคิดเดิมขัดกับการคิดนอกกรอบที่แท้จริง
การศึกษาเอ็นเนียแกรม (ผู้ศึกษาเรื่องนี้กลุ่มแรกๆ ในบ้านเรา นิยมเรียกว่า นพลักษณ์) ช่วยให้ทุกคนมองย้อนกลับมาที่ตัวเอง ค้นหาสไตล์ของตนเพื่อให้รู้ตัวเอง แล้วค่อยปรับความคิดความเชื่อ สร้างรากฐานที่พร้อมไปสู่การพัฒนาด้านอื่นๆต่อไป
เอ็นเนียแกรม หรือ นพลักษณ์ นี้ มีความแตกต่างจากการระบุประเภทคน (Typology) ที่เราคุ้นเคย ตรงที่ว่าไม่มีแบบทดสอบใดๆ ที่บอกได้เที่ยงตรง 100% เพราะเรามัก “ไม่รู้ตัว” ว่าแรงจูงใจ และกรอบความคิดเรา ลึกๆแล้วคืออะไร
แต่เราอาจใช้แบบทดสอบ หรือกิจกรรมบางอย่างเป็นจุดเริ่มต้นการค้นหาสไตล์ของเรา แล้วค่อยๆ สังเกต และพิจารณาตนเองอย่างถี่ถ้วน ว่าเราเป็นสไตล์นั้นจริงหรือไม่
ลองมาเริ่มฝึกหาสไตล์เอ็นเนียแกรม หรือ ลักษณ์ (มาจากลักษณะ เพื่อให้สอดคล้องกับคำว่า นพลักษณ์นั่นเอง) ของตัวคุณเองด้วยวิธีง่ายๆ 3 ขั้นตอน เพื่อให้เห็นภาพและคุ้นเคยมากขึ้นดีกว่าครับ
ขั้นแรก ทบทวนแรงจูงใจจากภายใน (Intrinsic Motivation) ขอให้คุณลองนึกถึงงานหรือ กิจกรรมที่ชอบทำมากๆ แล้วดูตัวเองว่า คุณทำมันด้วยแรงจูงใจแบบไหนเป็นหลัก
1) ต้องการทำสิ่งต่างๆ ให้ถูกต้อง สร้างงานคุณภาพ หรือมีมาตรฐานสูง | 4) อยากสร้างสิ่งที่แตกต่าง ได้แสดงความรู้สึกส่วนลึกในใจออกมา | 7) อยากสร้างความแปลกใหม่ แสวงหาความสุขและความตื่นเต้น |
2) อยากเป็นที่รักและชื่นชอบ ต้องการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น | 5) อยากรู้และเข้าใจเรื่องต่างๆ ต้องการอิสระ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับใคร | 8) ต้องการแสดงความเข้มแข็ง ไม่ต้องพึ่งพาใคร |
3) ต้องการความสำเร็จ ใช้ชีวิตอย่างมีเป้าหมาย ต้องการเป็นที่ยอมรับ | 6) ต้องการความมั่นคง ปลอดภัย อยากทำเพื่อหมู่คณะ | 9) ต้องการความกลมกลืน ปรองดอง หลีกเลี่ยงความขัดแย้ง |
ขั้นที่สอง สังเกตพฤติกรรมที่คุณแสดงออกมาอย่างอัตโนมัติ จนเป็น Pattern หรือ บุคลิกภาพเฉพาะตัวขึ้นมา ลองอ่านแล้วพิจารณาว่าฉายาในกลุ่มไหน บ่งบอกความเป็นตัวคุณได้ใกล้เคียงที่สุด
กลุ่ม1 เพอร์เฟคชั่นนิส นักจัดระเบียบครูไหวใจร้าย มนุษย์ไม้บรรทัด | กลุ่ม 4 คนโศกซึ้ง ศิลปิน อาร์ตทิส ปัจเจกชน คนโรแมนติก | กลุ่ม 7 นักสุขนิยม นักชิม ผู้มีวิสัยทัศน์ จอมโปรเจกต์ คนเพ้อเจ้อ |
กลุ่ม 2 ผู้เสียสละ คนมีน้ำใจ แม่พระ นักบุญ จอมเล่ห์กล | กลุ่ม 5 นักสังเกตการณ์ ฤาษีเข้าถ้ำ นักคิด ประหยัดไฟเบอร์ห้า | กลุ่ม 8 นักรบ เจ้านาย ผู้นำ ผู้ปกป้อง จอมโหด |
กลุ่ม 3 คนเก่ง ผู้ใฝ่สำเร็จ Mr.Can Do จิ้งจกเปลี่ยนสีจอมคำนวณ | กลุ่ม 6 นักปุจฉา เพื่อนตาย คนจริงใจ มนุษย์ร้อยคำถาม พารานอยด์ | กลุ่ม 9 นักไกล่เกลี่ย ผู้ประสานไมตรี มือประสานสิบทิศ กาวใจ Mr. Yes |
ขั้นสุดท้าย ให้คุณดูลักษณะนิสัยเด่น ๆ ที่เกิดจากแรงจูงใจของคุณ ว่าเป็นไปตามข้อไหน
เมื่อทำครบทั้ง 3 ขั้นตอนแล้ว ลองพิจารณาทุกแง่มุมข้างต้นรวมกันว่า แบบไหนน่าจะเป็นสไตล์หลัก แบบไหนเป็นสไตล์รองอันดับหนึ่งและสองของคุณ บางคนอาจใช้เวลานานหน่อย ขึ้นกับว่าคุณรู้จักตัวเองมากน้อยแค่ไหน ในเว็บไซต์ของผม มีบทความหลายชิ้นที่จะช่วยให้คุณค้นหา หรือมั่นใจในสไตล์ของคุณมากขึ้น นอกจากนี้ คุณยังสามารถอ่านจากหนังสือเอ็นเนียแกรมที่มีการแปลออกมาเป็นภาษาไทยแล้วนับสิบเล่ม ดังในหน้าถัดๆไปของจดหมายข่าวนี้ แต่วิธีค้นหาตัวเองที่ดีที่สุด คือ เข้าอบรมครับ
ปัจจุบัน ผมเริ่มให้บริการโค้ชชิ่งผู้บริหารด้วยเอ็นเนียแกรม ขั้นแรกของการโค้ช ผมจะช่วยผู้บริหารค้นหาสไตล์ที่แท้จริงของตนเอง เพื่อให้ได้แนวทางการพัฒนาที่ตอบโจทย์จริงๆ หากสนใจรับบริการ ก็ติดต่อได้นะครับ
One thought on “เริ่มต้นค้นหาสไตล์ เริ่มต้นพัฒนาตนเอง”