About us

บริษัท สยามเอ็นเนียแกรม คอนซัลติ้ง จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2547 โดยคณะที่ปรึกษาซึ่งเปี่ยมด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการประยุกต์ใช้ความรู้เอ็นเนียแกรม (Enneagram) ในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลขององค์กรต่างๆ

เอ็นเนียแกรมเป็นเครื่องมือชั้นเลิศที่องค์กรชั้นนำระดับโลกมากมายนำมาใช้ในการพัฒนาองค์กร โดยมุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพของบุคลากร และสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ทุกคนร่วมมือร่วมใจไปสู่เป้าหมายเดียวกัน

บริษัท สยามเอ็นเนียแกรมคอนซัลติ้ง เป็นบริษัทไทยแห่งแรกและแห่งเดียวที่บุกเบิกการประยุกต์ใช้ความรู้เอ็นเนียแกรมให้กับองค์กรต่างๆ อย่างกว้างขวาง หลักสูตรของเราไม่ได้จำกัดอยู่แค่เอ็นเนียแกรมพื้นฐาน แต่ครอบคลุมถึงการประยุกต์ใช้กับการทำงานด้านต่างๆ รวมทั้งการพัฒนาขีดความสามารถของผู้นำ (Leadership Competency) และเรายังสามารถออกแบบหลักสูตรให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าโดยเฉพาะ

วิทยากรของเราได้ผ่านหลักสูตรวิทยากรเอ็นเนียแกรมจากต่างประเทศ (Certifed Ennagram Trainer) ผ่านการรับรอง เป็น Accredited Enneagram Teacher จาก IEA (International Enneagram Association) เป็น Senior Member ของ Enneagram In Business Network (EIBN) 

สยาม เอ็นเนียแกรม คอนซัลติ้ง คือมืออาชีพด้านการประยุกต์ใช้เอ็นเนียแกรมในการพัฒนาองค์กร

Clients

Our Approach

        ความจำเป็นที่บีบบังคับให้องค์กรต้องปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกนั้นก่อให้เกิดแนวคิดใหม่ๆ ในทางบริหารจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น รีเอ็นจิเนียริ่ง MBO QC ในอดีต หรือแนวคิดที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน อย่างเช่น KM competency BSC การคิดเชิงบวก การคิดนอกกรอบ เป็นต้น        แนวคิดที่ดีจำนวนมากดังตัวอย่างข้างต้น เมื่อนำมาประยุกต์ใช้จริง กลับพบกับปัญหาไม่ต่างจากที่ Peter Senge พูดถึงความล้มเหลวในการใช้กลยุทธ์ชั้นเลิศ สาเหตุของปัญหานี้นอกจากจะเป็นเพราะการยึดติดกับความคุ้นเคยเดิมๆ ของคนแล้ว ความแตกต่างพื้นฐานในตัวบุคคลยังเป็นอุปสรรคสำคัญที่มักถูกมองข้าม ไม่ว่าจะเป็นผู้มีบทบาทในการผลักดันกลยุทธ์เหล่านั้นและผู้ที่เป็นเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลง

        เครื่องมือชิ้นสำคัญที่จะช่วยให้เรามองเห็นกรอบความคิดที่ยึดติดของคนและช่วยให้เข้าใจในความแตกต่างพื้นฐานของบุคคลคือ "เอ็นเนียแกรม"

เอ็นเนียแกรม คืออะไร

        เอ็นเนียแกรมคือความรู้ที่อธิบายพฤติกรรมของคนได้อย่างเป็นระบบ ชัดเจนและแม่นยำ ทั้งนี้เพราะเอ็นเนียแกรมไม่ได้มุ่งเน้นที่พฤติกรรมภายนอก แต่ชี้ให้เห็นถึงกรอบความคิดหรือความรู้สึกนึกคิดที่ยึดติดจนเป็นแบบแผนทางพฤติกรรมของคนเรา กรอบความคิดนี้เองเป็นสิ่งกำหนดแรงจูงใจ การรับรู้ เรื่ยงที่ให้ความสำคัญ เรื่องที่มักมองข้าม จุดแข็ง จุดอ่อน สไตล์การสื่อสาร การตัดสินใจ ภาวะผู้นำ กลยุทธ์ในการทำงาน เป็นต้น สรุปสั้นๆ ได้ว่า เอ็นเนียแกรมไม่เพียงแต่บอกว่า เราเป็นอย่างไร (how) เท่านั้น แต่ยังอธิบายถึงสาเหตุ (why) ว่าทำไมเราจึงเป็นเช่นนั้น

        นอกจากจะช่วยให้เราเข้าใจตนเองได้ชัดขึ้นแล้ว เอ็นเนียแกรมยังทำให้เราเข้าใจผู้อื่นที่มีกรอบความคิดที่แตกต่างจากเรา เครื่องมือสำคัญชิ้นนี้จึงไม่เพียงแต่จะช่วยให้เราเปลี่ยนแปลงตัวเองได้เท่านั้น แต่ยังช่วยให้เรา "เก่งคน" หรือมีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น (human skills) เพิ่มขึ้นอย่างมาก

       ปัจจุบัน องค์กรชั้นนำระดับโลกหลายแห่ง ต่างก็ใช้แนวคิดเอ็นเนียแกรมเป็นพื้นฐานเพื่อพัฒนาบุคลากรและองค์กรในหลายต่อหลายด้าน ตัวอย่างเช่น Gennetech, Apple Computer, HP, GM, P&G, Shell, Sony, Toyota, Boeing, Xerox, Walt Disney, People Soft, Sun Microsystems, Motorola, Wachovia, Marriott

       แม้แต่ มหาวิทยาลัยด้านธุรกิจที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง มีเปิดสอนเอ็นเนียแกรมอยู่ในหลักสูตร เช่น Stanford University Business School, UCLA, Columbia Business School, Manchester Business School (UK), University of Sydney เป็นต้น

         ในประเทศไทย เราเป็นผู้บุกเบิกและพัฒนาการใช้เอ็นเนียแกรมให้กับองค์กรชั้นนำต่างๆ ตั้งแต่ปี 2547 ลูกค้า
ที่นำเอ็นเนียแกรมไปใช้อย่างต่อเนื่อง เช่น Kbank, SCG, Siam Sanistary (Cotto), MSIG, Datapro, Krungsri Auto เป็นต้น

สไตล์เอ็นเนียแกรมและตัวอย่างกรอบความคิด

        เอ็นเนียแกรมแบ่งคนออกเป็น 9 สไตล์ใหญ่ๆ เรียกแทนด้วยตัวเลขตั้งแต่ 1 ถึง 9 คำบรรยายลักษณะสั้นๆ และกรอบความคิดที่คนแต่ละสไตล์ใช้ในการมองโลกเป็นดังนี้

สไตล์หนึ่ง
โลกนี้ไม่สมบูรณ์แบบ ฉันต้องพยายามปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิม

สไตล์สอง
โลกนี้ต้องการความช่วยเหลือจากฉัน ฉันต้องพยายามช่วยพวกเขา

สไตล์สาม
โลกนี้ยกย่องผู้ชนะ ฉันจึงต้องพยายามสร้างความสำเร็จและมีเป้าหมาย

สไตล์สี่
โลกนี้ธรรมดาสามัญเกินไป ฉันต้องมีเอกลักษณ์และความแตกต่าง

สไตล์ห้า
โลกนี้มีทรัพยากรจำกัด ฉันต้องสะสมหาความรู้ไว้ให้มาก

สไตล์หก
โลกนี้ไม่ค่อยปลอดภัย ฉันจึงต้องระวังตัว

สไตล์เจ็ด
โลกนี้เต็มไปด้วยโอกาสที่น่าตื่นตาตื่นใจ ฉันจึงมองโลกในแง่ดี

สไตล์แปด
ในโลกนี้ คนที่แข็งแกร่งเท่านั้นที่จะอยู่รอด ฉันจึงต้องเข้มแข็ง

สไตล์เก้า
โลกจะน่าอยู่ถ้ามีแต่ความสงบ ฉันจึงควรทำตัวกลมกลืนไปกับคนอื่น

รูปแบบและบรรยากาศการอบรม

              เราออกแบบกิจกรรมการอบรมเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างเปิดใจ สนุกสนาน  สร้างบรรยากาศของความไว้วางใจระหว่างกัน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน
               คลิ้กไปดู ภาพบรรยากาศการสัมมนา จากตัวอย่างลูกค้าบางรายของเรา เพื่อความเข้าใจ     

เนื้อหาเอ็นเนียแกรมเบื้องต้น

ฟังบทสัมภาษณ์ อ. วาจาสิทธิ์ และครูเคท เนตรปรียา รายการคลินิกสุขใจ หรือ อ่านบทสัมภาษณ์จากเว็บไซต์ www.manager.co.th

เอ็นเนียแกรม : เครื่องมือในการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน

โดย ผู้จัดการรายวัน  18 กรกฎาคม 2548 08:53 น.


       เอ็นเนียแกรมเป็นก้าวย่างที่สำคัญในการช่วยให้เกิดการพัฒนาบุคลากรในที่ทำงาน จึงมีผู้บริหารองค์กรหลายคนนำความรู้เอ็นเนียแกรมไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
       
       ประวิทย์ จิตนราพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แบล็ค แคนยอน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เอ็นเนียแกรมช่วยเสริมทักษะการเป็นผู้บริหารแก่เขา ทำให้เขาสามารถมอบหมายงานที่เหมาะสมแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาแต่ละบุคคล

คุณประวิทย์ จิตนราพงศ์ และ คุณสัมพันธ์ ศิลปนาฏ

             "เมื่อก่อนผมหงุดหงิดมากกับผู้ร่วมงานบางคนที่ดูเหมือนเป็นคนลังเลและตัดสินใจไม่เด็ดขาดในสายตาผม เดี๋ยวนี้ผมรู้แล้วว่าพวกเขาเป็นคนแบบลักษณ์ 9 ซึ่งไม่อาจสามารถทำการตัดสินใจได้โดยง่าย ดังนั้น เดี๋ยวนี้ผมจึงไม่มอบหมายงานที่ต้องตัดสินใจอย่างรวดเร็ว เพราะอาจทำให้พวกเขายุ่งยากและล้มเหลว"
       
       "พอไปเรียนรู้เราก็เข้าใจบุคลิกภาพว่า เราไม่ได้เอาเขามาอยู่ในตำแหน่งงานที่เหมาะสม ทำให้การทำงานของเขาติดขัด ผมเห็นด้วยว่าบางครั้งการนำนพลักษณ์มาใช้ในองค์กร มันทำให้บรรยากาศในการทำงานดีขึ้น ประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรหลังจากเอาผู้บริหารของเราเข้าไปอบรม ผมเชื่อแน่ว่าจะดีขึ้นมากทีเดียว"
       
       หลังจากเห็นข้อดีจากการศึกษาศาสตร์นี้แล้ว ประวิทย์จึงให้ทีมผู้บริหารของเขาเรียนรู้เอ็นเนียแกรมด้วย ซึ่งก็ช่วยปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานให้ดีขึ้น ส่งเสริมให้เกิดผลงานที่ดี ขณะเดียวกันก็ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในหมู่พนักงาน
       
       "คนที่เคยกินแหนงแคลงใจกันเวลาประชุม บรรยากาศนั้นจะหายไปโดยสิ้นเชิง บางทีเรียนหลักสูตรฝรั่งอย่าง Seven Habit เรียนนั่นเรียนนี่เยอะไปหมด สอนแล้วไม่เห็นจะหาย บางทีไปจ้างฝรั่งมาสอนเป็นแสนๆ หรือไปทำกิจกรรมต่างจังหวัดร่วมกัน กลับมาบางที 3 หรือ 7 วันก็หาย แต่นี่คือเขาอยู่กับตัวเขาเอง มันจะยังคงอยู่ตลอดไป อันนี้ไม่ได้ชวนเชื่อนะฮะ แต่ท้าให้พิสูจน์ อยากให้คนทางด้านธุรกิจมาเรียนรู้นพลักษณ์ให้มากๆ แล้วจะนำไปใช้งานได้เยอะทีเดียว" ประวิทย์กล่าว

คุณกฤช ฟอลเล็ต ผู้อำนวยการอาวุโส
ฝ่ายตรวจสอบภายใน ธ. แห่งประเทศไทย

       สัมพันธ์ ศิลปนาฏ รองประธานบริษัท ซีเกท (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้บริหารอีกผู้หนึ่งที่สนใจศาสตร์นี้กระทั่งผลักดันให้เกิดการอบรมเอ็นเนียแกรมในบริษัทมาแล้ว 1 รุ่น ซึ่งก็เห็นผลลัพธ์ออกมาอย่างชัดเจน
       
       "เราเห็นว่าพวกเขามีความสุขมากขึ้น ทุกข์น้อยลง เห็นรังสีของความรักในองค์กรเกิดขึ้นอย่างชัดเจน และที่สำคัญบรรยากาศในที่ประชุม ซึ่งคนจะชอบมีคำถามว่าทำไมเขาไม่เข้าใจเรา ทำไมเขาคิดอย่างนั้น คำถามแบบนี้หมดไปเลยหลังจากกลุ่มที่เข้าไปอบรมนพลักษณ์กลับมา เขามีการประชุมที่สร้างสรรค์มากขึ้น ใช้เวลาที่เป็นประโยชน์มากขึ้น มีภาษาสากลเกิดขึ้นในองค์กรว่านี่คือความแตกต่างของคนในแต่ละลักษณ์ สิ่งที่เห็นชัดก็คือได้นำมาปรับปรุงตัวเองและใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากขึ้น แล้วองค์กรเราการสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญมาก ต้องพบปะสื่อสารกันอยู่เรื่อยๆ"
       
       "เราเสียเงินเสียทองไปมากกับ ego challenge, teamwork building กลับมาเราเห็นผลความเปลี่ยนแปลงแค่ 7 วัน แล้วสภาวะเหล่านั้นมันก็จะตีกลับ มันไม่เคยยั่งยืน ไม่มีความเปลี่ยนแปลงในองค์กร ก็ยังใช้นิสัยการทำงานแบบเดิมๆ แต่พอเราส่งชุดแรกเข้าไปอบรมนพลักษณ์ 20 คนกลับมาเปลี่ยนเลย แล้ววันนี้ก็ยังคงอยู่" สัมพันธ์กล่าว
       

                 

                  "เอ็นเนียแกรมทำให้เราเข้าใจตนเองและผู้อื่นมากขึ้น รู้เท่าทันรากของปัญหาว่าทำไมเราทุกคนจึงแตกต่างกัน… การทำเวิร์กชอปให้ประโยชน์อย่างมากตรงที่เราได้เรียนรู้จากผู้อื่น ทำให้เข้าใจและเห็นใจทุกคนทั้งตัวเราและผู้อื่นมากขึ้น และทราบว่าเราควรพัฒนาตัวเราเองอย่างไร และในชีวิตการทำงาน เราจะประยุกต์ใช้ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาประสานกับผู้อื่นในการทำงานอย่างไรให้เหมาะสม และลดความสิ้นเปลืองของทรัพยากรและเวลาขององค์กร และลดปัญหาที่คนมักพูดว่า ทำงานไม่เหนื่อยเท่าปัญหาเรื่องคน"
       
                 คือความคิดเห็นจาก กชนุช จิระพันธุ์วานิช ผู้บริหารอาวุโส ฝ่ายตรวจสอบความเสี่ยงและเทคโนโลยีสารสนเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้เข้าร่วมเวิร์กชอปเกี่ยวกับเอ็นเนียแกรม ที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมอบรมอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2546
       
                 เช่นเดียวกับ กฤช ฟอลเล็ต ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตรวจสอบกิจการภายใน ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งมีโอกาสเข้าร่วมเวิร์กชอปเอ็นเนียแกรม และก็ยอมรับว่าเป็นศาสตร์อีกอย่างหนึ่งที่แตกต่างออกไปจากแนวคิดการบริหารและการจัดการที่เขาเคยเข้ารับการอบรมมาก่อนหน้านี้
       
                "เมื่อนำเอ็นเนียแกรมมาปรับใช้ในการทำงานก็ทำให้รู้เขารู้เรา รู้ว่าต้องจัดการยังไง ถ้าเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาเราก็ต้องดูแลเขา ถ้าเป็นเจ้านายเราก็รู้ว่าควรต้องวางตัวยังไง"
       
                "ศาสตร์นี้เป็นเหมือน soft skills ค้นหาว่าตัวเราเป็นยังไง จริงๆ ศาสตร์นี้เหมาะกับทุกลักษณะงาน เพราะการทำงานต้องใช้ทั้ง soft skills และ technical ควบคู่กันไป คิดว่าทุกอาชีพจำเป็นต้องเรียนรู้ตรงนี้ การเป็นผู้นำต้องพยายามเรียนรู้ว่าผู้ใต้บังคับบัญชาหรือเพื่อนร่วมงานมีนิสัยใจคอยังไง ถ้าเราสามารถรู้ตรงนั้นได้ก็จะทำให้การเป็นผู้นำมีประสิทธิภาพ"
       
                 ล่าสุดมีหลักฐานจากงานวิจัยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ว่า คนซึ่งมีการตระหนักรู้ในตนเองที่สูงมักจะมีผลงานที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เป็นผู้นำหรือผู้บริหาร เอ็นเนียแกรมเป็นเครื่องมือที่ผ่านการพิสูจน์แล้วว่าสามารถยกระดับการตระหนักรู้ของเราได้ จึงถือเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนอีกทางเลือกหนึ่ง   อ่านรายละเอียดจาก www.manager.co.th