คุณเป็นแบบนี้หรือไม่
- สุดไปในทางใดทางหนึ่ง ไม่ค่อยมีกลางๆ
- ไม่หยุดยั้งการแสวงหา ไม่พึงพอใจกับอะไรง่ายๆ
- ต้องการความสมบูรณ์แบบอย่างมาก
- เต็มไปด้วยความขัดแย้งในตัว
- สัมผัสถึงด้านมืดในตัวคนได้ไวเหมือนตาเห็น
- เหมือนใช้ชีวิตอยู่ใน โลกคู่ขนานเดจาวู คือ โลกแห่งวัตถุที่เวลาเดินเป็นเส้นตรง และโลกแห่งสัญลักษณ์ ไร้กรอบเวลา
เราทุกคนมีความต้องการทั้งที่เหมือนกัน และที่แตกต่างกันหลายอย่าง
ตั้งแต่เด็ก เราไม่ได้รับการส่งเสริมให้ บอกความต้องการเหล่านั้้นออกมาตรงๆ
ผลก็คือ ทุกคนต้องเล่นบทบาทต่างๆ ใน Drama Triangle ด้วยความหวังว่า จะได้ในสิ่งที่เราต้องการอย่างอ้อมๆ
จุดประสงค์สำคัญในการเรียนรู้ เอ็นเนียแกรม คือการค้นพบไทป์เอ็นเนียแกรมของตนเอง พร้อมๆ ไปกับทำความเข้าใจคนไทป์อื่น
สิ่งที่ได้จากการค้นพบไทป์ตัวเอง คือ การตระหนักรู้ตัว ทั้งจุดแข็งที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดข้อได้เปรียบ และเป็นประโยชน์ และจุดอ่อนที่ต้องลดให้น้อยลง
ถ้าคุณยังเป็นคนไทป์นี้ที่ยัง
- ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เพราะยึดถือธรรมเนียม วิธีการ รูปแบบ วิถีชีวิต ฯลฯ ที่คุ้นเคยมากกว่า เมื่อต้องเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลง มักรู้สึกเครียด รวมไปถึงถ้าต้องเปลี่ยนนิสัยของตัวเอง
- คิดมากกับเรื่องไม่สำคัญ ไม่สามารถรับมือกับความขัดแย้งได้ มักถือสาหาความกับคำพูดของคนอื่น จนอาจนำสิ่งเหล่านั้นมาตัดสินตัวเอง
- ทำงานหนักเกินตัว อาจขยันจนถึงขั้นบ้างาน จนลืมมองเรื่องอื่นที่สำคัญกว่า อาจยึดติดความสมบูรณ์แบบด้วย จนยามว่างก็ไม่ได้พักผ่อน
- เห็นแก่ผู้อื่นมากไป จนถูกเอาเปรียบ แต่ก็ไม่กล้าบอกหรือตัดความสัมพันธ์ เพราะกลัวความขัดแย้งอย่างมาก
กลไกป้องกันตนเอง (Defense Mechanism) เป็นกระบวนการทางจิตวิทยา ที่เราใช้ตั้งแต่วัยเด็ก เพื่อปกป้องจิตใจให้อยู่รอด
หน้าที่สำคัญของมันคือ ทำให้เราไม่ต้องรับรู้ความเป็นจริง ซึ่งยากที่จะยอมรับได้ในวัยเด็ก
จุดประสงค์สำคัญในการเรียนรู้ เอ็นเนียแกรม คือการค้นพบไทป์เอ็นเนียแกรมของตนเอง พร้อมๆ ไปกับทำความเข้าใจคนไทป์อื่น
สิ่งที่ได้จากการค้นพบไทป์ตัวเอง คือ การตระหนักรู้ตัว ทั้งจุดแข็งที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดข้อได้เปรียบ และเป็นประโยชน์ และจุดอ่อนที่ต้องลดให้น้อยลง
คนเรามีความแตกต่างกันโดยธรรมชาติตั้งแต่เกิด
แต่น้อยคนนัก ที่จะเข้าใจในธรรมชาติของตัวเอง เรื่องที่จะเข้าอกเข้าใจคนอื่น (Empathy) จึงเป็นเรื่องที่แทบเกิดขึ้นได้ยากมาก
ตัวอย่างของความแตกต่างดังกล่าวได้แก่
(more…)เรารู้ว่า คุณไม่ค่อยทบทวนตัวเองเท่าไหร่ เพราะมักใช้เวลา และชีวิตกับโลกภายนอกมากกว่า ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้น คือ
- ความรู้สึกของตัวตนไม่ชัดเจน - ปรับตัวไปตามสภาพแวดล้อมและคนรอบตัวได้เก่งมาก บางคนอ่านใจคนอื่นได้แม่นด้วย แต่สิ่งนี้ ก็แลกมาด้วยการไม่ค่อยได้สนใจตัวเอง คุณจึงไม่ค่อยรู้สึกอารมณ์ความรู้สึกของตัวเอง มองไม่เห็นทิศทางชีวิตที่ควรจะไป
- ทำหรือตัดสินใจอย่างวู่วาม - มักใช้แค่ความรู้สึกและความเชื่อส่วนตัวในการตัดสินใจ ไม่ได้ใช้ข้อมูลหรือตรรกะเหตุผลที่ดี ส่งผลให้เกิดผลเสียหายตามมา
- กระหายคำชม หวั่นไหวคำตำหนิ - จึงขาดความมั่นใจ และจุดยืนของตัวเองที่มั่นคง
- เน้นความปรองดอง หลีกเลี่ยงความขัดแย้ง - ไม่ยอมจัดการปัญหาความขัดแย้งอย่างตรงไปตรงมา จึงอาจใช้การดื้อเงียบ หรือเล่ห์เหลี่ยมอ้อมๆ แทน
- โทษตัวเองมากไป - มักโทษตัวเองเมื่อเกิดสิ่งผิดพลาดขึ้น แต่ยกเครดิตให้คนอื่นเมื่อสิ่งต่างๆ เป็นไปได้ด้วยดี
- ฯลฯ
คนเรามีทั้งความเป็น อินโทรเวิร์ท และ เอ็กโทรเวิร์ท ในตัว
เพียงแต่ว่า แต่ละคนจะมีด้านหนึ่ง ถนัดมากกว่าอีกด้าน
คนอินโทรเวิร์ทจะถนัดกับการใช้ชีวิตอยู่กับโลกภายในของตัวเอง นั่นคือ การครุ่นคิด ทบทวน ตั้งคำถามในใจ ค้นคว้า สำรวจหาคำตอบด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องปฏิสัมพันธ์กับใครมากนัก
อินโทรเวิรท์จึงเป็นคนที่เน้นความเป็นปัจเจก หรืออิสระในตัวเอง มากกว่าความสัมพันธ์กับโลกภายนอก
เมื่อเทียบกับคนอื่นแล้ว
หากคุณมีลักษณะนิสัยเช่น ขี้สงสัย ชอบตั้งคำถาม คิดเยอะ คิดมาก คิดในแง่มุมที่ไม่มีใครคิด