บทบาทในทีม (Team Roles) ที่ช่วยหรือทำลายทีมงาน

เห็นคำว่า บทบาทในทีม หลายคนอาจคิดว่า เป็นบทบาทที่เป็นไปตามตำแหน่งหน้าที่ ซึ่งได้รับมอบหมาย เช่น หัวหน้าทีม ฝ่ายวิเคราะห์ ฝ่ายบัญชี  เลขานุการ ฯลฯ

แต่ที่จริงแล้ว Team Roles หรือบทบาทในทีม ในเรื่องทีมงาน หมายถึง พฤติกรรมต่างๆ ที่แต่ละคนมักแสดงออกเมื่อทำงานกันเป็นทีม ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ เวลาประชุมทีมงานกัน

บทบาทในทีมนี้ ยังแบ่งออกตามลักษณะใหญ่ๆ ได้ 2 แบบ คือ


บทบาทด้านงาน (Task Roles)

คือ พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับเนื้องานโดยตรง เช่น

แสดงความคิดเห็น ขอข้อมูล จัดระบบงาน กำหนดเป้าหมาย ประเมินข้อมูล บริหารทรัพยากร ฯลฯ

 

 

บทบาทด้านความสัมพันธ์ (Relationship Roles)

คือ พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึก ความสัมพันธ์ หรือกระบวนการในทีม  ตัวอย่างเช่น
เสนอกฎเกณฑ์ในการทำงาน  ช่วยแก้ไขความขัดแย้ง ช่วยให้ผู้อื่นมีส่วนร่วม ช่วยให้งานเดินหน้า ตั้งคำถาม ลดความตึงเครียด ท้าทาย ฯลฯ

 

ปัญหาในทีม เรื่องบทบาท

บทบาททั้งสองด้านเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการทำงานเป็นทีม   แต่ก็เช่นเดียวกับเรื่องอื่นๆ  คนแต่ละสไตล์มักยึดติดกับการแสดงบทบาทใดบทบาทหนึ่ง จนขาดความยึดหยุ่น และอาจก่อปัญหาความขัดแย้งได้โดยง่าย

ลองอ่านชื่อฉายา คนแต่ละเบอร์ในรูปนี้  แล้วนึกถึงลักษณนิสัย  แล้วลองนึกต่อว่า เวลาประชุมทีม คนแต่ละเบอร์มักแสดงพฤติกรรมอย่างไรบ้าง  ทั้งที่เหมาะสมและไม่เหมาะสม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

โดยธรรมชาติแล้ว คนเราจะขาดการตระหนักรู้ตัว  ในเรื่องบทบาทนี้ คนแต่ละเบอร์ก็จะแสดงพฤติกรรมเดิมๆ เหมือนเป็นการโต้ตอบอย่างอัตโนมัติ  จนขาดความยึดหยุ่น และไม่ได้คำนึงถึงความเหมาะสมกับสถานการณ์

ตัวอย่างเช่น  เวลาประชุม  คนเบอร์หก (คนรอบคอบ นักปุจฉา) ก็มักคอยประเมิน ตรวจสอบความถูกต้อง ของสิ่งต่างๆ เช่น ข้อมูล แผนการ ไอเดีย และมักตั้งคำถามซักไซ้ ข้อเสนอหรือความคิดเห็นของคนอื่น
ชนิดที่ว่า ยากที่คนอื่นจะตอบให้เขาพึงพอใจได้โดยง่าย

คนอื่น ก็อาจทำให้คนอื่นเข้าใจผิดไปว่า เขามองโลกในแง่ร้าย เอาแต่ตำหนิ วิจารณ์  หรือต่อต้าน อยู่เสมอ
ทั้งที่จริงๆ แล้ว คนเบอร์หกในองค์กรนั้น  ก็เพียงแต่ต้องการความมั่นใจในความแม่นยำ ถูกต้อง ของเรื่องนั้นๆ เท่านั้น

คนเบอร์อื่น ทุกเบอร์ ก็มักแสดงบทบาทตามความถนัดของตน จนอาจทำให้การประชุมทีม มีปัญหา เกิดความขัดแย้ง หรือขาดประสิทธภาพ ได้มากน้อย ไม่แตกต่างกัน

หลักสูตร สร้างทีมงานประสิทธิภาพสูง ด้วย เอ็นเนียแกรม จะสำรวจบทบาท หรือพฤติกรรมอัตโนมัตเหล่านี้ พร้อมทั้งสำรวจ เสนอแนะ พฤติกรรมทางเลือกอื่นๆ ที่คนแต่ละเบอร์ควรแสดงออกให้มากขึ้น  เพื่อให้ทีมมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เอ็นเนียแกรม ให้ Insights และ solutions มากมาย ที่หาไม่ได้จากเครื่องมืออื่นๆ ครับ