หากขาดความไว้วางใจกันในทีม ปัญหาลูกโซ่ที่ตามมาคือ คนในทีมจะไม่กล้าแสดงความเห็นต่าง รวมทั้งกลัวที่จะขัดแย้งในเรื่องต่างๆ กับคนอื่นในทีม
เรื่องนี้อาจขัดความรู้สึกนึกคิดของคนไทย ที่เชื่อว่า ความขัดแย้งเป็นสิ่งไม่ดี
เราจึงมีธรรมเนียมของการทำตัวกลมกลืน พูดจารักษาหน้า ไม่ขัดแย้งก้น แม้ในใจจะไม่ได้รู้สึกเช่นนั้น
จึงไม่แปลก ที่เรามักพูดกันบ่อยๆ ว่า คนไทยกันเป็นทีม ไม่ได้เก่งเหมือนชาวตะวันตก
แพททริก เลนโชนี่ ที่ปรึกษาองค์กรบอกต่อว่า ถ้าคนในทีมขาดความไว้วางใจ (Lack of Trust) กันแล้ว ก็ย่อมต้องปกป้อง ระวังตัว ไม่สร้างความบาดหมาง หรือขัดแย้งกับใคร
แต่ถ้าไว้วางใจกัน ก็กล้าพูดคุยกันตรงๆ ในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องไอเดีย ความคิดเห็นต่างๆ ที่ไม่ตรงกัน รวมไปถึงกล้าหยิบยกเรื่องราวความขัดแย้งอื่นๆ มาพูดคุย จัดการ เพื่อหาทางออกที่จะบรรลุเป้าหมายของทีมหรือองค์กรที่สุด
ในชีวิตจริงของการทำงาน ย่อมมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน ในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งสรรทรัพยากรในองค์กร การวางแผน กลยุทธ์ แผนการตลาด โปรเจ็คที่จะให้ความสำคัญ ฯลฯ
การพูดคุย ถกเถียง ต่อรองกัน เป็นวิธีที่จะให้ได้มาซึ่งการตัดสินใจ โดยมีส่วนร่วมของของคนที่เกี่ยวข้องมากที่สุด
ที่สำคัญคือ เมื่อได้ข้อสรุปจากการแลกเปลี่ยน ชั่งน้ำหนัก ประมวลข้อมูล เหตุผล ของคนในทีม แล้ว ทุกคนย่อมต้องให้ commitment ต่อข้อสรุปนั้น ถ้าทำงานกันอย่างมืออาชีพจริงๆ
ลองนึกถึงการประชุมในหลายๆ แห่ง ที่การแสดงความคิดเห็นมักมาจากคนไม่กี่คน คนที่ไม่ได้แสดงความคิดเห็นใดๆ ในห้องประชุม จะด้วยสาเหตุใดๆ ก็ตาม เมื่อออกจากห้องประชุม จึงมาซุบซิบนินทา
ไม่ต้องบอกก็รู้ว่า คนเหล่านั้น ย่อมไม่เกิด commitment ต่อมติที่ประชุม
ผมเข้าใจว่า นี่เป็นปัญหาของหลายๆ องค์กรในไทย ในเรื่อง ไม่กล้าเห็นต่าง กลัวความขัดแย้ง นี้ มีรากเหง้ามาจากกระบบอาวุโส เส้นสาย อีโกของผู้บริหาร ฯลฯ ด้วย
จึงได้ยินบ่อยๆ ว่า เราทำงานไม่ค่อยเป็นมืออาชีพ ใช้ความรู้สึกส่วนตัวมากกว่าเหตุผล
ลองอ่านข้อความต่อไปนี้ เพื่อดูว่า คนในทีมคุณ กลัวที่จะแสดงความเห็นต่าง หรือกลัวขัดแย้งกันหรือไม่
ถ้าทีมของคุณแทบไม่ค่อยได้ทำสิ่งเหล่านี้ ก็แปลว่า พวกเขากลัวเรื่องนี้
ลองทำความเข้าใจให้ชัดๆ อีกที
ถ้าคนในทีมไม่กลัวที่จะแสดงความเห็นต่าง หรือขัดแย้งกันในเรื่องที่จะเป็นประโยชน์ต่อการทำงาน
พวกเขาก็จะกล้าพอที่จะหยิบประเด็นปัญหาต่างๆ มาพูดคุยกัน เพื่อหาทางออกร่วมกัน รวมไปถึงประเด็นปัญหาสำคัญ ที่ปกติ มักสร้างความหนักใจในการพูดคุยกัน บรรยากาศการประชุม ก็จะมีการถกเถียง แลกเปลี่ยนกัน ไม่เงียบเชียบอย่างที่มีคนผูกขาดการพูดไม่กี่คน
การไม่กลัวความขัดแย้ง ต้องมีพื้นฐานจาก ความไว้เนื่้อเชื่อใจ ดังที่กล่าวในบล๊อกก่อน
นอกจากนี้ หลายคนยังต้องปรับทัศนคติว่า ความขัดแย้งไม่ใช่เรื่องที่เลวร้าย แต่เป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้ทุกคนเกิด commitment ต่อการตัดสินใจ
ในความเป็นจริง มีคนเพียง 2-3 ไทป์ ที่กล้าจะแสดงเห็นต่าง และไม่กลัวความขัดแย้งใดๆ อยู่แล้ว แต่ที่เหลือส่วนมากนั้น ไม่ชอบความขัดแย้ง และอาจถึงกับหลีกเลี่ยงความขัดแย้งในทุกสถานการณ์ก็มี
ตรงนี้เองที่ ความรู้ เอ็นเนียแกรม จะช่วยให้ผู้บริหารแต่ละคน ได้สำรวจทัศนคติต่อความขัดแย้งของตัวเอง และถ้าจำเป็น ก็อาจต้องปรับเปลี่ยน เพื่อประโยชน์ของการทำงานเป็นทีม
ถ้าคนในทีม ยังติดที่ปัญหาข้อนี้อยู่ ก็จะก่อให้เกิดปัญหาลูกโซ่อื่นๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็น การขาดความมุ่งมั่น หรือผูกพันต่อการตัดสินใจของทีม
การไม่กล้าตักเตือน ตรวจสอบกัน (accountability) เวลาที่คนในทีมไม่ทำตามที่ตกลง หรือทำตัวเป็นปัญหากับทีม
นำไปสู่ปัญหาสุดท้าย คือ แต่ละคนก็ไม่สนใจในการทำให้บรรลุเป้าหมายของทีม แต่หันไปสนใจแต่ประโยชน์เฉพาะหน้าของตนเอง เช่น ตำแหน่ง หน้าที่ การรักษาผลประโยชน์ของแผนกของตัวเอง เท่านั้น เกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย
หนังสือ ทำทีมให้เวิร์ค กำจัดอุปสรรคของทีมเวิร์ค ชี้ให้เห็นปัญหาเหล่านี้พร้อมแนวทางแก้ไขอย่างชัดเจน โดยใช้เรื่องเล่า ซึ่งทำให้ง่ายขึ้นอีกด้วยการ์ตูน โดยที่ แคธเธอรีน ได้รับการว่าจ้างเข้ามา เพื่อจัดการกับสภาพการทำงานที่ไม่เป็นทีม ของผุ้บริหารระดับ C Suite ทั้งหลาย เธอได้ใช้แนวคิด กำจัดอุปสรรค 5 ประการของทีมงาน จัดการ จนทีมนี้ กลายเป็นทีมงานที่มีประสิทธิภาพอย่างมาก
ในทางปฏิบัติ การแก้ปัญหาเหล่านี้ จะง่ายขึ้น ถ้าใช้ความเชี่ยวชาญ จากที่ปรึกษาภายนอก เพราะมีความเป็นกลาง และเข้าใจธรรมชาติของการทำงานเ็นทีม รวมทั้งความแตกต่างระหว่างคนในทีม ที่ส่งผลต่อปัญหาต่างๆ เหล่านี้
อย่าเสียเวลา ปล่อยให้ปัญหากัดกร่อน ทีมงานของคุณ และนำความเสียหายมาสู่องค์กร จนแก้ไขได้ยาก
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
หาก ขาดความไว้วางใจกัน (Trust) ก็ยากที่จะเกิด ทีมเวิร์ค
ทีมคุณยังเวิร์คไหม ลองเช็คดู ! (5 Dysfunctions of a team)
ทีมคุณ ยังเวิร์ค อยู่ไหม ?ลองเช็คดูได้ จาก VDO Clip นี้.#ทำทีมให้เวิร์ค #5Dysfunctions
โพสต์โดย Siam Enneagram เมื่อ 27 กันยายน 2017
วิทยากร
อ. วาจาสิทธิ์ ลอเสรีวานิช (CPA, MBA, MA)
- MD บ. สยามเอ็นเนียแกรม คอลซัลติ้ง จำกัด
- Certified Enneagram Trainer, Accredited Enneagram Teacher (IEA)
- Certified MBTI Practitioner
- ประสบการณ์ในบริษัทต่างๆ 20 ปี
(ตำแหน่งสุดท้าย Finance & HR Director – Bisnews AFE) - นำการสัมมนาหลักสูตร เอ็นเนียแกรม ให้กับองค์กรต่างๆ มากกว่า 600 รุ่น
- แปลหนังสือเอ็นเนียแกรม และอื่นๆ รวม 14 เล่ม