High Self-Esteem : Practicing the 6 Pillars of Self-Esteem with the Enneagram & Cognitive Functions

“ปัญหาทางจิตใจแทบทั้งหมดเชื่อมโยงกับ Self-Esteem ต่ำ เช่น วิตกกังวล ซึมเศร้า ผลการเรียนตกต่ำ ผลงานตกต่ำ หวาดกลัวความใกล้ชิด กลัวที่จะมีความสุขหรือประสบความสำเร็จ ติดเหล้าหรือยาเสพติด ทะเลาะเบาะแว้งกับคนรัก ลวนลามเด็ก เฉื่อยชา ชีวิตไร้จุดหมาย suicide หรือการก่ออาชญากรรม”

: The Six Pillars of Self-Esteem โดย นาธาเนียล เบรนดัล

ทำไมถึงไม่ค่อยมี Self-Esteem

มีหลากหลายสาเหตุที่ทำให้คนเราไม่ค่อยมี self-esteem
แต่ในยุคสมัยนี้ สื่อสังคม (Social Media) มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหา Low Self-Esteem ของคนรุ่นใหม่จำนวนมากอย่างน่าตกใจ ไม่ว่าจะเป็นการเปรียบเทียบตัวเองกับภาพลักษณ์ของผู้คนที่ประสบความสำเร็จ ดูดี มีฐานะ เป็นมาตรฐานความงาม หรือความเป็นที่นิยม ฯลฯ จนอาจรู้สึกว่าเราด้อยกว่า ขาดความมั่นใจ หรืออาจถูกตัดสิน ตำหนิ วิพากษ์วิจารณ์ (cyberbully) จนรู้สึกย่ำแย่
สื่อสังคมยังเสนอประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นต่างๆ จนทำให้เราไม่อยากที่จะพลาดสิ่งเหล่านั้น หรือที่เรียกว่า FOMO (Fear of Missing Out) การคอยติดตามชีวิตของผู้อื่นที่ดูสนุกสนานและน่าพึงพอใจก็อาจทำให้เรารู้สึกแปลกแยกและด้อยยิ่งขึ้น เมื่อเราใช้สื่อสังคมแสดงตัวตน ก็อยากได้การตอบรับในรูปแบบของยอดไลค์ ยอดผู้ติดตามหรือคอมเม้นต์ดีๆ เพื่อให้รู้สึกเป็นที่ยอมรับ แต่เมื่อไม่ได้ก็ย่อมส่งผลต่อความรู้สึกในคุณค่าของตัวเองด้วย

Social Media เปิดโอกาสให้เราคอยเปรียบเทียบกับผู้อื่นในสังคมอย่างไม่สิ้นสุดจริงๆ

Self-Esteem คืออะไร

2 องค์ประกอบสำคัญ ของ Self-Esteem คือ

  • Self-Efficacy ความมั่นใจว่าเรารับมือกับความท้าทายต่างๆ ในชีวิตได้ (สามารถคิด เรียนรู้  เลือกและตัดสินใจเรื่องต่างๆ ที่สนใจและจำเป็น)
  • Self-Respect ความรู้สึกว่า เรามีคุณค่ามากพอที่จะมีความสุข (ทัศนคติว่าเรามีสิทธิ์ที่จะใช้ชีวิตอย่างมีความสุข สบายใจกับการแสดงความคิด ความต้องการ ความรู้สึกว่าความสุข ความพึงพอใจเป็นสิทธิ์ที่มีมาแต่เกิดของเรา)

แก่นของ Self-Esteem คือ ความเชื่อมั่นในตัวเรา และรู้ว่าเรามีค่าคู่ควรกับความสุข ความเชื่อนี้ไม่ใช่เพียงข้อสรุปหรือความรู้สึก แต่เป็นสิ่งสร้างแรงจูงใจ เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดพฤติกรรม และส่งผลโดยตรงต่อการกระทำของเรา
ในทางกลับกัน เป็น Feedback loop ระหว่างการกระทำ และ self esteem

คุณค่าของ Self-Esteem ไม่ใช่แค่ทำให้รู้สึกดีขึ้น แต่ให้เราได้ใช้ชีวิตที่ดีขึ้นด้วย เพราะช่วยให้เราตอบสนองต่อความท้าทายและอุปสรรคได้ดีขึ้น

วิธีสร้าง Self-Esteem

ด้วยนิยามข้างต้น สิ่งที่จะกำหนดระดับ Self-Esteem คือสิ่งที่เราทำ ไม่ใช่แค่การมองโลกในแง่บวก หรือนึกคิดแต่สิ่งดีๆ สัมมนานี้ จะเรียนรู้หลักการสร้าง Self-Esteem 6 ประการ (The Six Pillars of Self-Esteem) ของ ดร. เบรนดัน และทำการฝึกฝน โดยผสมผสานความรู้ความเข้าใจตนเองจากความรู้เอ็นเนียแกรม และ Cognitive Functions หลักการทั้ง 6 คือ

  • Living Consciously ใช้ชีวิตอย่างมีสติ
  • Self-Acceptance ยอมรับตนเอง
  • Self-Responsibility รับผิดชอบต่อตัวเอง
  • Self-Assertiveness แสดงออกอย่างมั่นใจ
  • Living Purposefully ใช้ชีวิตอย่างมีจุดมุ่งหมาย
  • Personal Integrity ซื่อตรงในตัว

ผู้เข้าสัมมนาต้องเคยผ่านการอบรมทั้ง เอ็นเนียแกรม และ CF Development ตามไทป์ตัวเองก่อน เพราะต้องใช้พื้นฐานความรู้เกี่ยวกับตัวเอง 2 ด้านนี้ในการฝึกฝนหลักการทั้ง 6


รายละเอียดการสัมมนา และสมัคร

  • วัน/เวลา: เรียนคืนวันเสาร์ 6 ครั้งติดต่อกัน เริ่ม 15, 22, 29 ก.ค. 5, 12, 19 ส.ค. เวลา 19.00 – 21.30
  • Optional Follow-up Session, ศุกร์ 1 ก.ย. 19.30 – 22.00
  • รูปแบบ : Real time, inter-active workshop ผ่านโปรแกรม Zoom
  • ค่าลงทะเบียน : 5,900 บาท รวมเอกสารประกอบการสัมมนา
  • ลงทะเบียนออนไลน์ : bit.ly/Self_Esteem01
  • การชำระเงิน : กรุณาชำระก่อนวันสัมมนา 5 วัน เพื่อให้ส่งเอกสาร,ได้ทันวันสัมมนา
  • ส่งสลิป : line id: mattanee99 หรือ inbox เพจ Siam Enneagram หรือโทร 081 776 3118,  02 443 7005 (คุณนี)

วิทยากร

อ. วาจาสิทธิ์ ลอเสรีวานิช (CPA, MBA, MA)

  • MD บ. สยามเอ็นเนียแกรม คอลซัลติ้ง จำกัด
  • Certified Enneagram Trainer, Accredited Enneagram Teacher (IEA)
  • Certified MBTI Practitioner
  • ประสบการณ์ในบริษัทต่างๆ 20 ปี
    (ตำแหน่งสุดท้าย Finance & HR Director – Bisnews AFE)
  • นำการสัมมนาหลักสูตร เอ็นเนียแกรม ให้กับองค์กรและบุคคลต่างๆ มากกว่า 1,200 รุ่น
  • แปลหนังสือเอ็นเนียแกรม 10 เล่ม  MBTI  3 เล่ม